สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์(โสตทัศนูปกรณ์)
สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์ สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์หรือที่เรียกว่าโสตทัศนูปกรณ์ (audio –visual equipments ) มีหน้าที่หลัก คือการฉายเนื้อหาทั้งที่เป็นภาพและตัวอักษรให้มีขนาดใหญ่ ขยายเสียงให้ดัง เพื่อให้ผู้เรียนรับรู้และเรียนรู้ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ปัจจุบันอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้พัฒนาไปมากมีรูปลักษณะเล็กน้ำหนักเบา แต่สามารถใช้งานได้หลายมิติ เช่น ต่อพ่วงกับอุปกรณ์อื่นได้หลายทาง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อตอบสนองความต้องการและอ้านวยความสะดวกในการรับรู้ของมนุษย์ ดังนั้นการน้าอุปกรณ์เหล่านี้มาใช้ในกระบวนการเรียนการสอนจะช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น
ความหมายของโสตทัศนูปกรณ์
โสตทัศนูปกรณ์ หมายถึงอุปกรณ์ที่มีลักษณะใหญ่ ประกอบด้วย เครื่องยนต์ กลไกลไฟฟ้า อิเล็คทรอนิคส์ ทำหน้าที่เป็นตัวผ่านขยายเนื้อหาสาระจากแหล่งกำเนิดให้ชัดเจนยิ่งขึ้นสามารถกระตุ้นการรับรู้ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
โสตทัศนูปกรณ์ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Audio-Visual Equipments และมาจากคำประสมดังนี้
โสตะ (การได้ยิน) + ทัศนะ (การมองเห็น) + อุปกรณ์
Audio Visual
ประเภทของสื่ออุปกรณ์
สามารถจำแนกออกเป็น 3 ประเภท คือ
1.เครื่องฉาย (Projectors)
2.เครื่องอุปกรณ์แปลงสัญญาณ (connected Equipment)
2.เครื่องเสียง (Amplifiers)
เครื่องฉาย
เครื่องอุปกรณ์แปลงสัญญาณ และเครื่องเสียงเครื่องฉายเครื่องฉาย เป็นอุปกรณ์ฉายภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้ผู้เรียนมองเห็นภาพหรือเนื้อหาได้ชัดเจนจากจอรับภาพ เครื่องฉายที่ใช้ในปัจจุบันมีหลายชนิด เช่น เครื่องฉายข้ามศีรษะ (overhead projector) เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายแอลซีดี (LCD projector) เครื่องฉายสไลด์ (slide projector) นอกจากนี้ยังมีเครื่องต่อพ่วงกับเครื่องฉายที่สามารถฉายภาพได้หลายรูปแบบ เช่น เครื่องวิชวลไลเซอร์ (visualizer) เป็นต้น
เครื่องอุปกรณ์แปลงสัญญาณ
เครื่องอุปกรณ์แปลงสัญญาณ หน้าที่ของเครื่องอุปกรณ์แปลงสัญญาณเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่ในการอ่านข้อมูลจากวัสดุและแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าเพื่อแปลงกลับเป็นสัญญาณและเสียง
เครื่องเสียง
1.แหล่งกำเนิดเสียง
เสียง (Sound) เกิดจาการสั่นสะเทือนของวัตถุ พลังงานการสั่นสะเทือนจะจัดอากาศให้เป็นคลื่นออกไปโดยรอบ เรียกว่า คลื่นเสียง (Sound Wave) เมื่อคลื่นเสียงไปกระทบแก้วหูก้จะทำให้แก้วหูสั่นสะเทือน เสียงที่เราได้ยินอยู่ในชีวิตประจำวันมาจากแหล่งกำเนิดต่างๆ เช่น เสียงคน สัตว์ การสั่นสะเทือนของวัตถุ เสียงจากธรรมชาติ เป็นต้น
2. ส่วนประกอบของการขยายเสียง
การขยายเสียงเป็นการแก้ไขข้อจำกัดของเสียงจากต้นกำเนิดเสียงที่มีเสียงเบาไม่สามารถรับฟังได้ในระยะไกล โดยใช้เครื่องมือไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นเสียงไฟฟ้าความถี่ แล้วขยายให้มีกำลังมากขึ้นหลายๆเท่า หรือบันทึกเก็บไว้ เพื่อนำมาแปลงให้กลับเป็นคลื่นเสียงทีหลังอีกก็ได้ เครื่องมือที่ทำ หน้าที่ดังกล่าวเรียกว่า เครื่องเสียง เช่น เครื่องขยายเสียง เครื่องเล่นแผ่นเสียง และเครื่องเล่นเทปบันทึกเสียง เป็นต้น
เครื่องเสียงมีหน้าที่รับเสียง ขยายเสียง และส่งออก ส่วนประกอบของการขยายเสียงที่สำคัญประกอบด้วย ภาคสัญญาณเข้า ได้แก่ ไมโครโฟน ภาคขยายเสียง ได้แก่ เครื่องขยายเสียง ภาคสัญญาณออก ได้แก่ ลำโพง
สรุป
สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์หรือโสตทัศนูปกรณ์ มีหน้าที่หลักคือ ใช้เนื้อหาที่เป็นภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้น และขยายเสียงให้ดังขึ้น จำแนกออกเป็น 3 ประเภทได้แก่ เครื่องฉาย เครื่องอุปกรณ์แปลงสัญญาณ และเครื่องเสียง
เครื่องฉายที่ใช้ในวงการศึกษา ปัจจุบันมีหลายชนิด เช่น เครื่องฉายข้ามศีรษะ เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายแอลซีดี เครื่องฉายดีวีดี เป็นต้น ส่วนประกอบที่สำคัญของเครื่องฉายได้แก่ หลอดฉาย แผ่นสะท้อนแสง วัสดุฉาย เลนส์ และจอ
เครื่องอุปกรณ์แปลงสัญญาณเป็นเครื่องที่ไม่สามารถใช้งานได้ด้วยตนเอง ต้องต่อพ่วงเข้ากับอุปกรณ์เครื่องฉายหรือเครื่องขยายเสียง เช่น เครื่องวิชวลไลเซอร์ เครื่องเล่นวีดีทัศน์ เครื่องเล่นวีซีดี และเครื่องเล่นดีวีดี เป็นต้น
เครื่องเสียงมีหน้าที่รับเสียง ขยายเสียง และส่งออก ส่วนประกอบของการขยายเสียงที่สำคัญประกอบด้วย ภาคสัญญาณเข้า ได้แก่ ไมโครโฟน ภาคขยายเสียง ได้แก่ เครื่องขยายเสียง ภาคสัญญาณออก ได้แก่ ลำโพง